ความรุนแรงและความไม่เสมอภาค
สถาบันครอบครัวปัจจุบันไม่จำกัดเพียงชายหญิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคู่หญิงหญิง ชายชาย ทอมกับกะเทย หรือคำจำกัดความอะไรก็ตามแต่ที่คนสองคนปรารถนาตรงกันและอยากใช้ชีวิตร่วมกัน จ่ายเวลาที่มีค่าในชีวิตร่วมกัน และยังมีข้อตกลงร่วมกันในด้านทางเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัวจึงไม่จำเป็นต้องมีลูกเพื่อสืบทายาทมายืดติดสภาวะครอบครัวอีกต่อไป.
ความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวแบบคลาสสิกคือแบบพ่อแม่และลูก เป็นส่วนใหญ่(คะเนจากำนวนข่าวที่ลงพื้นที่สื่อได้มาก) จะพบว่าปัญหามาจากตัวบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมลูกติดเกม เล่นเกมส์ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง จนไม่เอาเวลาไปทำอย่างอื่น กิจกรรมนันทนาการ หรือการเรียนรู้นอกตำราเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่
รั้งไม่อยู่พ่อแม่แก้ปัญหาด้วยการตีเด็กโดยเชื่อว่าความรุนแรงเข้าอบรมสั่งสอนและเชื่อว่าเมื่อเด็กเหล่านี่โตขึ้นจะประสบความสำเร็จในชีวิตแต่ตัวฉันเชื่อว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ผลเพียงในระยะสั้น เด็กอาจจะเลิกเล่นเกมส์เพื่อตบตาพ่อแม่ไปเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น ในความเป็นจริงเด็กอาจโดดเรียนหนีไปเล่นเกมส์ทั้งวันแต่พอกลับบ้านไปอ่านหนังสือตบตาพ่อแม่ ฉันมองว่าเป็นเรื่องปัญหาระยะยาวมากกว่า แล้วแต่เคสและตัวเด็กเองด้วย ความดูแลห่างๆของผู้ปกครองด้วย ดูแลอย่างใกล้ชิดเกินไปก็ไม่ได้เด็กจะเกิดความกดดันและไม่ไว้ใจพ่อแม่ นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายผู้ปกครองมากในสมัยนี่
หากวิเคราะห์ไปถึงตัวเด็กเอง เด็กไม่ชอบให้ผู้ใหญ่ใช้ความรุนแรงกับตน อันที่จริงไม่มีใครชอบความรุนแรง ไม่อยากถูกพ่อแม่ตีแต่ตัวเด็กเองไม่สามารถเลิกเล่นเกมส์ด้วยตนเองได้ สังคมเพื่อนที่โรงเรียนเล่นเกมกันทุกคน ถ้าไม่เล่นเกมส์จะไม่มีเพื่อนคุย เป็นเรื่องที่น่าทำความเข้าใจตัวเด็ก สังคมของเด็กแต่ละยุค นั้นคือการแบ่งเวลาในแต่ละวันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พ่อแม่ควรเอาใจใสเด็กพอสมควรหากมองดูแล้วบางช่วงเด็กเก็บตัวหม่กมุ่นเกินไป ควรเข้าอบรมสังสอนเด็กในทันที อย่าปล่อยให้นานเกินไปเพราะจะแก้ปัญหายาก อาจนำไปสู่ความรุนแรงต่อเด็กได้ แนวทางเช่น ให้เด็กทำการบ้านก่อนเรียบร้อยแล้วถึงไปเล่นเกมส์ เกมส์ที่เด็กเล่นเป็นเกมส์ประเภทอะไร เราจะห้ามเด็กเล่นเด็ดขาดเลยไม่ได้เพราะสังคมปัจจุบันการเล่นเกมเป็นการผ่อนคลายชนิดหนึ่ง
ครอบครัวใดที่มีลูกเป็นเพศทางเลือกหรือตัวพ่อแม่เองที่เป็นเพศทางเลือก มักจะมีคำจำกัดความที่สังคมครอบเอาไว้อยู่ สังคมตีกรอบเอาไว้เพื่อที่จะทำใจยอมรับเพศทางเลือกเหล่านี้ได้เช่น ลูกจะต้องมีการศึกษาสูงเรียนปริญญาตรี โท เอก จบดอกเตอร์ เป็นเจ้าเป็นนาย มีหน้าที่การงานที่ดี ต้องประสบความสำเร็จในชีวิต คำพูดเหล่านี้ตีกรอบเอาไว้ให้เพศทางเลือกได้รับการยอมรับ
กรอบและคำพูดเหล่านี้ที่ดูเหมือนจะสวยหรูแต่อีกด้านหนึ่งกลับเหยียดเพศสภาพอย่างเงียบๆ ฟังดูเหมือนจะไม่เป็นความรุงแรงด้วยซ้ำ ไม่ได้ถูกทำร้ายทางร่างกาย physical แต่มีความบอบช้ำทางจิตใจ mental มาอย่างตรงตัวเด็กเองและแบบอ้อมๆ สิ่งเหล่านี่เป็นมายาคติที่เครือบความเกลียดชังเพศทางเลือกไว้ และเอาไว้หลอกตัวเองว่ายอมรับเพศที่สามได้
ชีวิตจริงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะประสบผลสำเร็จในชีวิตหรือการศึกษาสูง มองราวกับหนึ่งว่าเพศทางเลือกเป็นยอดมนุษย์ ต้องทำชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ใบหน้าต้องสวยหล่อจึงจะได้รับการยอมรับจากสังคม
ต้องเข้าใจว่าเพศทางเลือกก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเพศชายหญิง ซึ่งพอใจชีวิตที่มีความสุขในสังคมเหมือนทุกคน เหมือนคนทั่วไปที่ชีวิตมีดีและไม่ดีบ้าง รุ่งหรือร่วง เป็นเรื่องธรรมดาของความเป็นคน
สภาพสังคมชายเป็นใหญ่ ชายต้องเป็นผู้นำครอบครัว สังคม เป็นผู้บริหารในองค์กร ผู้ชายมีเมียได้หลายคนแต่หญิงต้องมีผัวคนเดียว ผู้ชายต้องมีเมียที่อายุอ่อนกว่า จะทำสิ่งใดหรืออำนาจในการตัดสินใจยกให้ฝ่ายชาย อีกด้านของความเป็นใหญ่เหล่านี้คือแรงกดดันพุ่งตรงไปที่ฝ่ายชายแต่เพียงฝ่ายเดียว เกิดความเครียด แรงกดดัน ชายใดแก้ปัญหาได้สังคมจะยกหญ้าชูตา หากชายใดแก้ปัญหาไม่ได้จะถูกสังคมดูถูก และจูงใจต่อความรุนแรงได้สูง กฎหมายป้องกันความรุนแรงต่อเด็กและสตรีจึงเป็นเรื่องสำคัญของสังคมชายเป็นใหญ่ การส่งเสริมสิทธิเท่าเทียมชายหญิงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อลดบทบาทชายนำสังคมจะเป็นการบาล้าน equality ในสังคมให้เท่าเทียมกัน
ความไม่พอใจในคู้รักของตนภายใต้กรอบกฎหมายผัวเดียวเมียเดียว ทำให้อีกฝ่ายลดสถานะทางสังคมและอีกฝ่ายหนึ่งเกิดสถานะใหม่ทางสังคมขึ้นมา ทำให้เกิดความขัดแย้งแรงปะทะ โอกาสเกิดความรุนแรงจึงมีสูงมากหากวัดข่าวจากคดีฆาตกรรมในพื้นที่สื่อไทย ซึ่งฆาตกรมีทั้งการศึกษาสูงและการศึกษาต่ำ
เศรษฐกิจเป็นทุนเริ่มต้นชีวิต มองไปทางไหนก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินเป็นตัวดำเนินเรื่องในแต่ละวัน มันมีผลกระทบต่อสภาพร่างกาย การเจริญเติบโตทางสังคม สถานะทางสังคม ซึ่งครอบคลุมสภาวะจิตใจไปในตัวด้วย
สังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหมดเวลาไปกับเรื่องปากท้อง ใช้ชีวิตเพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ ย่อมไม่สนใจต่อคุณค่าของชีวิตผู้อื่น การไม่สนใจในชีวิตและแคร์ความรู้สึกผู้อื่นเป็นแรงชักจูงได้เช่นกัน
Comments
Post a Comment